วันศุกร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2554

คุณเคยเห็นปลาหมอสีไหม

แสดงตัวอย่าง
  (ตอนเจ้าปังยังตัวเล็ก)   
  
แสดงตัวอย่าง
  (เปลี่ยนน้ำให้เจ้าปัง)

แสดงตัวอย่าง
(ตอนเจ้าปังหิวอาหาร)   

ดิฉันเป็นผู้หญิงคนหนึ่งที่ชอบเลี้ยงปลาหมอสีมาก มาเป็นเวลาเกือบ 1 ปี เเล้วค่ะ พันธุ์ที่ดิฉันสนใจซื้อมาเลี้ยงคือ พันธุ์ปังคุง  เป็นปลาที่มีหัวโหนงที่โต เเละมีมาร์คที่ตัวสวยงามเเละมีลำตัวที่คอยข้างจะสั้นเป็นปลาที่สวยงามอีกเเบบหนึ่งเเละปลาเพศเมียที่ซื้อมาผสมพันธุ์อีกคือ พันธุ์ ปังผ่า เป็นปลาที่สีเเดงสดใสเเละไม่มีโหนกที่หัว  ปลาหมอสีที่กำลังนิยมเลี้ยงเป็นอย่างมากของนักเลี้ยงปลาในในบ้านเรา เพราะเลี้ยงในตู้จะทำให้ปลาสวยงามมาก ตลอดระยะเวลาที่ได้เลี้ยงปลาหมอสีดิฉันมีความสุขมากเเละปลาหมอก็คงจะมีความสุขเหมือนกับฉันที่มีคนดูเเลเเละเอาใจใส่เขา ปลาหมอสีของฉันชื่อ ปัง ทุกวันที่ดิฉันได้เห็น เจ้าปัง ทำให้มีความร่าเริงเเละยิ้มได้ที่ได้เห็น ถึงเเม้ว่าทุกวันนี้จะไม่ได้เห็นเจ้าปังบ่อยนักเเต่ก็เเค่ได้เห็นวัน อาทิตย์ตอนที่กลับบ้านก็ทำให้มีความสุขเเล้ว ถึงเเม้ว่าดิฉันจะไม่ได้ดูเเลมันอย่างใกล้ชิดเหมือนเเต่ก่อนก็มีครอบครัวที่ดูเเลเจ้าปังเเทนค่ะ

การที่ดิฉันเลี้ยงปลาหมอสีเป็นความชอบด้วยส่วนตัวเพราะปลาหมอเป็นปลาตู้ที่เลี้ยงสวยงาม ถ้าเราดูเเลเอาใจใส่ปลาดีปลาก็จะโตเร็วเเละมีหัวโหนกโตสีสดใส อาจเป็นสิ่งที่ดีต่อครอบครัวของฉันเพราะ การเลี้ยงปลาในตู้เป็นสิ่งที่ประดับตกเเต่งบ้านจะทำให้บ้านสดใสหรืออาจเป็นความเชื่อที่ว่าการเลี้ยงปลาเป็นสิ่งนำโชค  จากการที่ดิฉันได้เลี้ยงมาเป็นเวลา 4 เดือน ทำให้ครอบครัวมีความสุขเเละการค้าขายของครอบครัวก็ดีขึ้น  สิ่งเหล่านี้เป็นความเชื่อส่วนบุคคล

ใครหลายคนยังไม่รู้จักปลาหมอสีกันมารู้จักปลาหมอสีกันค่ะ
ปลาหมอสีมีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ตามลุ่มน้ำหรือทะเลสาบในต่างประเทศ ปลาหมอสีพบในส่วนมากของโลกใหม่ได้แก่เเถบอเมริกากลาง -ใต้เช่นเเท็กซันตอนใต้ ปลาหมอสีมีนิสัย ค่อนข้างรักถิ่นฐาน หากมีปลาอื่นบุกรุก  เข้ามาในเขตของมัน มันก็จะขับไล่ผู้บุกรุกออกไปปลาหมอสีมีจำนวนชนิดมากกว่า 1000ชนิด นับว่าเป็นปลาที่มีชนิดมากเป็นอันดับสาม รองมาจากปลาตะเพียน เเละปลาบู่ ปลาหมอสีมีชือวิทยาศาสตร์ว่า  Cichlidaeปลาวงค์นี้มีชือสามัญในภาษาอังกฤษว่า cichli ภาษาไทยนิยมเรียกว่า ปลาหมอสี คนไทยจึงเรียกติดปากกันว่า ปลาหมอสี มีลักษณะคล้ายกับปลาสลิดของบ้านเรานั้นเอง ปลาหมอสีมีลักษณะเฉพาะคือมีความอดทนค่อนข้างสูงเเละมีสีสัดที่สดใส กินอาหารง่ายอาหารที่ปลาหมอชอบทานก็มีอาหารจำพวกไรทะเล หนอนแดง หรืออาหารสำเร็จรูป
ปลาหมอสีที่คนชอบเลี้ยงกันในบ้านเราคือ ปลาหมอสีพันธุ์ปังคุง ปังผ่า เรดลำพูน เรดสยาม ขุนศึก เป็นปลาที่สวยงามมีหัวที่โหนกเเละมีมาร์คที่สดใสเเละเป็นปลาที่เลี้ยงในตู้ได้สวยงามมากไม่เเพ้กับปลาชนิดอื่นๆ ปลาหมอสีหาซื้อง่ายมีจำหน่ายตามร้านขายปลาทั่วไปค่ะ ถ้าเพือนๆสนใจก็หามาซื้อเลี้ยงได้นะค่ะ

พันธุ์ปลาหมอที่พบเห็นเเล้วคนส่วนมากมักนิยมเลี้ยงกันคือ

ปลาหมอสีพันธุ์ขุนศึก
เป็นปลาที่มีโหนกหัวที่โตเเละมีมาร์ค มุกที่ลำตัวสวยมาก เเละมีสีที่สดใสมีราคาเเพง

แสดงตัวอย่าง
ปลาหมอสีพันธุ์ปังคุง
ปลาพันธุ์นี้ก็มีหัวโหนกเเละมีมาร์คที่ลำตัวเเละสีเเดงสดใสมีลำตัวที่สั้น

ภาพถ่ายของฉัน
ปลาหมอสีพันธุ์ เรดลำพูน
เป็นปลาที่มีลำตัวยาวกว่าปลาชนิดอื่น หัวโหนกมีมาร์คที่เด่นชัดตรงหัวโหนกเเละตรงคลีบของปลาสีเเดงที่สดใสสวยงาม

แสดงตัวอย่าง
ปลาหมอสีพันธุ์ปังผ่า
ปลาพันธุ์นี้เป็นปลาที่มีหัวโหนกโตเเละลำตัวจะมีมุกที่สวยงามสีสดใส ปลาพันธุ์นี้เป็นปลาตัวเเรกที่ดิฉันได้ซื้อมาเลี้ยงก่อนหน้านี้ที่จะซื้อพันธุ์ปังคุงมาเลี้ยงเเทนมันได้ตายไปนานเเล้วเพราะว่าคืนวันหนึ่งพ่อของฉันได้ถอยปลั๊กออกซิเจนตู้ปลาออกก่อนจะไปตลาด ตื่นขึ้นมาตอนเช้ามันก็เสียชีวิตลง ดิฉันเสียใจมากเพราะเป็นปลาตัวเเรกที่ซื้อมาเลี้ยง

แสดงตัวอย่าง
รูปปลาตัวโปรดที่ซื้อมาเลี้ยงครั้งเเรก ดิฉันถ่ายภาพเก็บไว้เพื่อเป็นความทรงจำที่ดีงามเเละยังคิดเจ้าขนุนอยู่เสมอ ถึงเเม้ว่าเจ้าขนุนจะตายไปเเล้วก็ตาม ปลาตัวนี้เป็นปลาที่มีหัวโหนกที่โตมากเเละมีมาร์คมุกที่สวยงามที่สุดค่ะ

แสดงตัวอย่าง
ปลาหมอสีพันธุ์ เรดสยาม
ปลาพันธุ์นี้เป็นปลาที่มีลำตัวตัวยาว มีลักษณะคล้ายกับพันธุ์เรดลำพูน หัวโหนกเเละมีมาร์คที่เด่นชัด

 ปลาหมอสีพันธุ์กัมฟา
ปลาพันธุ์มีลักษณะที่ลำตัวของปลาจะมีสีเเดงที่สดใสหรือบ้างตัวจะมีลำตัวเป็นสีส้ม มีมุกเเละมาร์คที่เด่นชัด ลำตัวจะยาวเหมือนกับปลาหมอสีพันธุ์เรดลำพูนเเละเรดสยามค่ะ


ปลาหมอสีพันธุ์ สะท้าน
ปลาพันธุ์นี้เป็นปลาที่มีหัวโหนก เเละมีมาร์คมุกสีของลำตัวเเดงสดใส ปลาพันธุ์นี้มีราคาค่อยข้างเเพงส่วนมากคนที่ชอบเลี้ยงปลาจะซื้อมาเลี้ยงเพื่อทำเป็นพ่อพันธุ์ค่ะ

ที่มา http://www.pla.in.th/

ลักษณะนิสัย
ปลาหมอสีเป็นปลาที่ค่อยข้างรักถิ่นฐาน ห่วงที่อยู่ ดังนั้นจึงมีความก้าวร้าวพอสมควรนี่ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่เป็นปัญหาให้กับผู้ที่เลี้ยงปลาหมอสีมือใหม่

แสดงตัวอย่าง
 (โหนงผมโตไหมคับ)

แสดงตัวอย่าง
(เจ้าปัง อายุ 1ปี เต็ม)

โรคของปลาหมอสีที่พบในช่วงฤดูหนาว
โรคจุดขาวพบในช่วงหน้าหนาวเเละมีสภาพเปลี่ยนเเปลงของอากาศที่ทำให้ปลาหมอสีเกิดโรคนี้ อาการคือซึมไม่กินอาหารเเละจะมีคล้ายฝื่นสีขาวซึ่งเกิดจากเชื้อเเบคทีเรียเเละทำให้โหนกของปลาหมอสีไม่โตในช่วงหน้าหนาวนี้
ยาที่ใช้รักษาโรคนี้ก็ใช้ฟาราโพกรีนรักษาซึ่งจะหาซื้อได้ตามร้านขายปลาทั่วไปในยาตัวนี้ภายใน 24 ชม. ปลาจะมีอาการดีขึ้นและช่วง 48 ชม. ปลาก็จัหายเป็นปกติ การใช้ยาตัวนี้นั้นเมื่อใช้ยาควรจะต้องปิดไฟตู้ทุกครั้งเพราะยาตัวนี้จะเสื่อมฤทธิ์เมื่อถูกแสง

สิ่งที่ควรดูเเลปลาหมอสีในช่วงหน้าหนาว
1.ต้องสอดส่องพฤติกรรมของปลา
2. ให้อาหารปลาอย่างสม่ำเสมอ
3. เปิดออกซิเจนให้กับปลาอย่างต่อเนื่อง
เพราะในช่วงหน้าหนาวปลาจะไม่คอยกินอาหารควรให้อาหารเสริมเช่นหนอนเเดงเเละไรเเดงเปิดออกซิเจนให้สม่ำเสมอ

ลักษณะปลาหมอสีในช่วงหน้าหนาว
ลำตัวของปลาหมอสีจะไม่มีสีเเดงที่สดใสเพราะในช่วงหน้าหนาวปลาจะมีการเปลี่ยนเเปลงทางลำตัวไปตามสภาพอากาศถ้าผ่านช่วงหน้าหนาวไปปลาหมอสีก็จะมีลำตัวที่สวยงามสดใสเหมือนเดิม
                                                           
 คลิปเจ้าปังตอนไล่ปลาตัวเล็ก



 














ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น